วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันภาษาไทยแห่งชาติ

วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มาและความสำคัญ
๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง “ ปัญหาการใช้คำไทย ” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า

เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก รัฐบาลได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันสำคัญ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒

วัตถุประสงค์
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

๑. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย

๒. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม
พ.ศ ๒๕๔๒

๓. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกัน ทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

๔. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้สัมฤทธิผลยิ่งขึ้น

๕. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สำรวจวงจรชีวิตสัตว์ร้าย เติบโตจาก ไข่ สู่การเป็น เอเลียน

ขั้นที่หนึ่ง : ไข่ (Egg)

เกิดจากการวางไข่ของ ราชินี (Queen) จากส่วนที่เป็นถุงไข่ของมัน ไข่แต่ละใบมีรูปร่างรีและยืดหยุ่นได้ มีความสูงประมาณ 3 ฟุต และมีรอยแยกอยู่ตรงยอดด้านบนสุด ในไข่จะมีสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า เฟชฮักเกอร์ (Facehugger) ภายในถุงไข่จะมีสารอาหารซึ่งใช้เลี้ยงสิ่งมีชีวิตในระหว่างช่วงที่ฟักตัว เมื่อไข่สัมผัสได้ว่ามีร่างของสิ่งมีชีวิตใดๆ เข้ามาอยู่ในระยะใกล้เคียง และเหมาะที่จะเป็นร่างที่ใช้อาศัย ฝาที่เปิดปิดได้ด้านบนจะเปิดออก ปล่อยให้สิ่งมีชีวิตด้านในดีดตัวออกมาเพื่อเกาะติดกับใบหน้าของร่างที่จะใช้อาศัย

ขั้นที่สอง: เฟซฮักเกอร์ (Facehugger)

เมื่อสัมผัสได้ถึงการเข้ามาใกล้ของร่างที่ใช้อาศัยซึ่งเหมาะสม เฟซฮักเกอร์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีผิวเป็นซิลิโคน รูปร่างเหมือนปลาหมึก มีเท้าซึ่งส่วนนิ้วแยกเป็น 8 แฉก ถุงลม 2 ข้าง และงวงที่ยาวเหมือนหาง มันใช้เพื่อเคลื่อนย้ายตัวเองไปสู่ใบหน้าของร่างที่จะเข้าอาศัย เมื่อยึดติดแล้ว เฟซฮักเกอร์จะสอดท่อหรืองวงลงไปสู่โพรงทรวงอกของร่างนั้น และตัดขาดการได้รับออกซิเจนจากภายนอกร่างกาย ทำให้ร่างดังกล่าวต้องอาศัยออกซิเจนจากตัวมัน และจะฝังตัวอ่อนที่เรียกว่า เชซเบิร์สเตอร์ ลงไปในตัวของเหยื่อ

เมื่อจบสิ้นกระบวนการแล้วตัวมันก็นับว่าไม่มีประโยชน์อีกต่อไป มันจะแยกตัวออกจากร่างที่ใช้อาศัยและตายไป ในทางกายภาพ เฟซฮักเกอร์ มีผิวด้านนอกที่เป็นสารซัคคาไรด์โปรตีนจำนวนมาก ซึ่งจะสลัดเซลล์ทิ้งอย่างต่อเนื่อง และแทนที่ด้วยขั้วซิลิโคน ซึ่งทำให้มีความทนทานเป็นอย่างมากต่อการบาดเจ็บและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม นอกจากนี้มันยังมีกรดโมเลกุลเข้มข้นเป็นเลือด ทำให้มีโครงสร้างที่ใช้เป็นเครื่องป้องกันได้เป็นอย่างดี

ขั้นที่สาม: เชซเบิร์สเตอร์ (Chestburster)

ตัวอ่อนที่ถูกฝังไว้ในโพรงทรวงอกของร่างที่ใช้อาศัยโดย เฟซฮักเกอร์ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง จนมีขนาดที่ใหญ่และมีกำลังมากพอที่จะกัดทะลุทรวงอกของร่างที่ใช้อาศัยออกมาได้ และตัวที่รู้จักกันในชื่อของ เชซเบิร์สเตอร์ ก็จะเคลื่อนย้ายตัวมันเองออกมาจากร่างนั้น และหาที่ปลอดภัยเพื่อหลบซ่อนในขณะที่มันกำลังเติบโตขึ้นอีก ในขั้นตอนนี้ การเติบโตของร่างกายของมันจะไม่เหมือนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มันไม่ต้องการอาหารที่จะทำให้ตัวใหญ่ขึ้น แต่จะสร้างเซลล์ทดแทนขึ้นมา (เกือบจะเหมือนกับการลอกคราบของงู) และให้พลังแก่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าภายในตัวเอง (ให้ลองนึกภาพสิ่งมีชีวิตที่วิวัฒน์จากแบตเตอรี่ โดยใช้กรดเป็นเลือด)

ขั้นที่สี่: เซโนมอร์ฟ (Xenomorph)

สิ่งมีชีวิตที่โตเต็มที่หลังจากที่ได้วิวัฒน์จาก เชซเบิร์สเตอร์ จะมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับร่างที่มันใช้เป็นที่อาศัย ดังนั้น หากร่างนั้นเดินสองขา เซโนมอร์ฟ ก็จะเดินสองขา หากร่างเดินสี่ขาหรือมากกว่า เอเลียนที่โตเต็มที่ก็จะเลียนแบบลักษณะเหล่านั้น หากเกิดจากร่างมนุษย์ จะมีความสูงราวแปดถึงเก้าฟุตเมื่อยืนเต็มที่ หัวของมันมีรูปร่างเหมือนโดม และมีโครงกระดูกด้านนอกที่แข็งแกร่ง ซึงประกอบด้วยขั้วซิลิโคน ที่แข็งแกร่งพอในการลำเลียงกรดโมเลกุลที่มันใช้เป็นเลือด ดังนั้นจึงสามารถทนกับการบาดเจ็บอย่างรุนแรงได้ดี (อาวุธที่แหลมคม ยุทโธปกรณ์นิวเคลียร์ และการยิงในระยะใกล้ เป็นที่รู้จักกันว่าจะสามารถทำพวกร้ายมันได้)

เนื่องจากระบบการทำงานภายในของมันไม่ได้ใช้ความดัน และเพราะมันไม่ได้หายใจในแบบทั่วๆ ไป มันทำงานเหมือนแบตเตอรี่มากกว่าการใช้ปอด จึงสามารถรอดชีวิตได้ในสูญญากาศ นอกจากนั้น โครงกระดูกที่อยู่ด้านนอกของมันยังทำให้ไม่สะดุ้งสะเทือนต่อความเย็น จึงแทบไม่ต้องบอกเลยว่า ทุกอย่างที่กล่าวมาทำให้มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายที่สุดเท่าที่เราจะพบได้ในอวกาศ

ขั้นพิเศษ: ราชินี (Queen)

ตัวอ่อนราวหนึ่งในหลายร้อยตัว เชซเบิร์สเตอร์ จะโตขึ้นเพื่อกลายเป็นราชินี ถึงแม้ว่าพวกมันจะเริ่มต้นชีวิตในแบบที่เหมือนกับเชซเบิร์สเตอร์ที่ได้บรรยายไว้ข้างต้น ราชินีจะเติบโตได้มากกว่ากาฝากอื่นๆ และเมื่อยืนเต็มที่จะมีความสูง 15 ถึง 30 ฟุต นอกจากโครงสร้างของกะโหลกที่ขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งดูคล้ายกับไดโนเสาร์พันธุ์ เซราท็อปส์ ราชินียังมีลักษณะที่เป็นพิเศษอีกอย่างหนึ่ง ถุงไข่โปร่งแสงขนาดมหึมา ซึ่งใช้ในการวาง ไข่ จำนวนมาก แม้ว่าจะยังคงไม่มีใครรู้ว่าไข่ถูกผสมพันธุ์หรือไม่และอย่างไร ราชินีจะปกป้องทายาทของมันอย่างสุดชีวิต

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Vassa

Vassa ou retraite de la saison des pluies, de vasso (pali) ou varṣaḥ- varsha (sanscrit) « pluie », est une période de trois mois lunaires pendant laquelle les moines bouddhistes abandonnent leur vie d’errance pour prendre une résidence fixe. Correspondant à la saison des pluies dans l’Inde du nord à l’époque de Gautama, elle débute traditionnellement le lendemain de la pleine lune du huitième mois du calendrier astronomique indien (juillet), jour de Asalha Puja qui commémore le premier sermon du Bouddha, et s’achève le lendemain de la pleine lune du onzième mois (octobre) avec un rituel monastique appelé Pavarana. Kathina pinkama, cérémonie d’offrande de l’habit monastique par les laïcs, a lieu au cours du mois suivant. L’observance de la coutume de vassa, qui date des premiers temps du bouddhisme, est de nos jours essentiellement limitée au courant theravada.

Les moines qui ont accompli leur retraite bénéficient d’un léger allègement des règles monastiques durant les quatre mois lunaires suivants. Traditionnellement, les années de vie religieuse sont comptées en vassas.