วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

>>>รู้ไว้ใช่ว่า<<<

1. การแลบลิ้นให้น้ำลายยืดลงพื้น 3 หยด จะแก้เผ็ดได้ เพราะอาการเผ็ดเกิดจากสานที่ชื่อ แคปไซซิน ที่อยู่ในพริกเข้าไปจับกับปลายประสาทรับรสที่ลิ้น ร่างกายจะแสดงปฏิกิริยาโดยขับน้ำลายออกมาชะล้างเอาเจ้าสารนี้ออกไป
2. การดูดนมยางของเด็กทารกตอนนอนจะแก้อาการนอนกรนได้ เพราะการคาบหรืออมนมยางของเด็กทารกไว้ในปากจะทำให้ลิ้นในปากอยู่นิ่ง ก็จะพลอยให้เนื้อเยื่อของเพดานไม่กระเทือนสั่นไหว จึงไม่เกิดอาการกรน และไม่นอนอ้าปาดอีกด้วย
3. แอปเปิ้ลผลิตกระแสไฟฟ้าได้จริง เพราะถ้าเสียบแผ่นสังกะสี และแผ่นทองแดงกรดในแอปเปิ้ลจะทำให้เกิดการแตกตัวของไอออน ทำให้ลูกแอปเปิ้ลเป็นเหมือนแบตเตอรี่ ซึ่งผลไม้ชนิดอื่นเช่น มะนาว เกรป ฟรุ๊ต หรือมันฝรั่งก็ทำได้เช่นกัน
4. ปัสสาวะมนุษย์ใช้ทำนาสีฟันในสมัยโบราณจริง โดยแพทย์ชาวโรมันเชื่อว่า ปัสสาวะมนุษย์ มีคุณสมบัติทำให้ฟันขาว และแข็งแรง ยาสีฟันในยุคดังกล่าวถึงเป็นน้ำยาบ้วนปสกที่ทำจากปัสสาวะมนุษย์
5. วัวกระทิงเกลียดสีแดงจริงหรือ ไม่จริง เพราะ วัวเป็นสัตว์ตาบอดสี ไม่สามารถแยกแยะสีต่างๆได้ แต่การที่วัวเมื่อถูกล้อด้วยผ้าสีแดงเหมือนในสนามสู้วัว แล้วก็พุ่งเข้าใส่นั้น เป็นเพราะความรำคาญ และเพราะถูกยิ่วมากกว่า
6. เพรชแท้จะไม่ติดสีหมึก เพราะการทดสอบดูเพชรแท้นั้น ให้ป้ายน้ำหมึกสีดำไปบนเพชร ถ้ามีความลื่นออก ไม่ติดอยู่บนเพชร แสดงว่าเป็นเพชรแท้ แต่ถ้ายังมีจุดดำตรงที่แต้มอนู่ ก็แสดงว่าเป็นเพชรเทียม
7. แสงแดดอ่อนๆ ช่วยป้องกันโรคซึมเศร้าได้จริง เพราะแสงแดดอ่อนๆ จะช่วยลดการสร้างเมลาโตนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการนอนหลับ ถ้าหากเก็บตัวอยู่แต่ในที่มืด จะทำให้ฮอร์โมนตัวนี้สูงขึ้น และอาจส่งผลให้เกิดอาการง่วง เหงา ซึมเซาได้
8. การฟังเพลงช่วยบรรเทาอาการปวดข้อได้ เพราะ การฟังเพลงทำให้สมองหลั่งสารเอ็นดอ์ฟินส์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนสร้างความสุขออกมา ช่วยลดความดันโลหิต และบรรเทาอาการปวดข้อได้

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัตินางนพมาศ



วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง อะแฮ่ม ๆ...ใกล้จะถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือ วันลอยกระทง อีกเทศกาลสำคัญของคนไทยกันแล้ว หลายคนคงใจจดใจจ่ออยากไป ลอยกระทง ใน วันลอยกระทง กันใช่ไหมล่ะ เพราะนอกจากจะได้ขอขมาพระแม่คงคาแล้ว ยังมีความเชื่อกันว่าการ ลอยกระทง เป็นการลอยทุกข์ลอยโศกและสิ่งไม่ดีในชีวิตออกไปอีกด้วย
นอกจากนี้ ความน่าสนใจของ วันลอยกระทง ยังอยู่ที่การจัดงาน ลอยกระทง อย่างยิ่งใหญ่ในทุก ๆ จังหวัดทั่วประเทศ โดยกิจกรรม วันลอยกระทง มักจะมีการเล่นดอกไม้ไฟ พลุ รวมถึงการแสดงมหรสพต่าง ๆ มากมาย ที่สำคัญยังมีการประกวดสาวงาม วันลอยกระทง หรือที่เรียกกันว่า นางนพมาศ อีกด้วย ...อะๆ หลายคนอาจสงสัยว่านางนพมาศคือใคร มีที่ไปที่มาอย่างไร แล้วทำไมต้องเรียว่า นางนพมาศ เอาเป็นว่าเราไปความรู้จักกับ "ประวัตินางนพมาศ" กันดีกว่าค่ะ...
นางนพมาศ หรือบ้างก็เรียกกันว่า เรวดี นพมาศ เกิดในรัชกาลพญาเลอไท กษัตริย์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วง นางนพมาศ เป็นธิดาของพระศรีมโหสถกับนางเรวดี บิดาเป็นพราหมณ์ปุโรหิตในสมัยพระยาเลอไท มีรูปสมบัติและคุณสมบัติที่งดงาม ได้รับการอบรมจากบิดา มีความรู้ทางอักษรศาสตร์ พุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ การช่างของสตรี ตลอดจนการขับร้องดนตรี สันนิษฐานว่า นางนพมาศ ได้ถวายตัวเข้ารับราชการในสมัยพระยาลิไท ในยุคสุโขทัย และเป็นที่โปรดปรานจนได้เป็นสนมเอก ตำแหน่ง ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งกล่าวกันว่า นางนพมาศ เป็นบุคคลที่ฉลาดถ่อมตัวเป็นอย่างยิ่ง จนได้สมญาว่า "กวีหญิงคนแรกของไทย" ดังเช่นที่มีข้อความเขียนไว้ว่า...
"ทั้งเป็นสตรี สติปัญญาก็น้อยกว่าบุรุษ แล้วก็ยังอ่อนหย่อนอายุ กำลังจะรักรูปและแต่งกาย ซึ่งอุตสาหะพากเพียร กล่าวเป็นทำเนียบไว้ ทั้งนี้เพื่อหวังจะให้สตรีอันมีประเภทเสมอด้วยตน พึงให้ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วยงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฎชื่อแสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน"
ทั้งนี้ นางนพมาศ ได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงในกาลต่อมา ที่สำคัญ ๆ มีอยู่ 3 ครั้ง คือ...
ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) นางได้คิดประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงมาก
ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซี่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน
ครั้งที่ 3 นางนพมาศ ได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่าแต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้
นอกจากนี้ นางนพมาศ ยังได้เขียนตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ขึ้นเพื่อเป็นหลักประพฤติปฏิบัติตนในการเข้ารับราชการของนางสนมกำนัลทั้งหลาย โดย ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ นี้แต่งด้วยร้อยแก้วมีกลอนดอกสร้อยแทรก ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะภาษาที่ใช้แตกต่างจากภาษาที่ใช้ในวรรณคดีที่แต่งในยุคเดียวกันคือ คือศิลาจารึกหลักที่ 1 และ ไตรภูมิพระร่วง โดยเนื้อเรื่องใน ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงประเพณีต่าง ๆ ของไทย เช่น การประดิษฐ์ พานหมากสองชั้นรับแขกเมือง การประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) เพื่อใช้ในพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) ซึ่งประเพณีนี้ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
และนี่คือ ประวัตินางนพมาศ สนมเอกของสมเด็จพระร่วงเจ้า ที่เป็นหญิงงาม ฉลาด และเป็นผู้ประดิษฐ์กระทงรูปดอกบัว จนกระทั่งมาเป็นต้นแบบของการประกวด นางนพมาศ ใน วันลอยกระทง ซึ่งนักประวัติศาสตร์หลายท่านยังคงสงสัยว่า นางนพมาศ ในอดีตนั้นจะเคยมีตัวตนอยู่จริงหรือแค่ตำนาน?!?