โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่พบบ่อย มีบุคคลจำ นวนมากที่ต้องทุพลภาพหรือมีชีวิตไม่ยืนยาวเท่าที่ควรเพราะโรค
นี้ คนส่วนมากที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น และเมื่อรู้ตัวว่าเป็นส่วนมากจะไม่ได้รับการรักษา และเมื่อได้รับ
การรักษาส่วนมากจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งของคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอาจไม่มีอาการ จึงทำ ให้โรคความดัน
โลหิตสูงไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร อีกประการหนึ่งผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ มักจะเข้าใจว่าความดันโลหิตสูงเป็น
โรคที่หายขาด เมื่อทานยาจนความดันเป็นปกติแล้วควรเลิกทานยาได้ ในความเป็นจริงส่วนใหญ่แล้วความดันโลหิตสูงเป็นโรค
ที่ไม่หายขาด ต้องใช้ยาควบคุมไปตลอดชีวิตเช่นเดียวกับโรคเบาหวานเหมือนกัน การควบคุมความดัน ให้ปกติอย่าง
สมํ่าเสมอ สามารถลดความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดจากโรคความดันสูง เช่น อัมพาต หรือหลอดเลือดหัวใจอุดตันลงได้ อย่างมีนัย
สำ คัญทางสถิติ
เมื่อใดจึงจะเป็นความดันโลหิตสูง
องค์การอนามัยโลกในปี คศ. 1999 ได้กำ หนดว่า ผู้ใดก็ตามที่มีความดัน 140/90 มม.ของปรอท หรือมากกว่าถือว่ามี
ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิต 130/84 มม. ของปรอท ถือว่าเป็นความดันปกติอย่างสูง จัดเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มของการ
เกิดความดันโลหิตสูงมากกว่ากลุ่มที่ความดันน้อยกว่านี้ ค่าความดันตัวแรกเป็นค่าความดันซีสโตลิค มีค่าเท่ากับแรงดันจาก
หัวใจห้องล่างข้างซ้ายในขณะบีบตัว ค่าความดันตัวที่สองเป็นค่าความดันไดแอสโตลิค จะมีค่าสูงกว่าแรงดันในหัวใจห้องล่าง
ซ้ายในขณะคลายตัว ทั้งค่าความดันซีสโตลิคและไดแอสโตลิคที่สูงผิดปกติทั้งสองค่า มีความสำ คัญที่เกือบเท่าเทียมกัน คือ
เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคของหลอดเลือดของอวัยวะต่างๆ ได้แก่สมอง หัวใจ และไต และปัจจัยเรื่องของการเกิดโรคหัวใจ
วายด้วย
ความดันโลหิตของเราเท่ากันหรือไม่
ความดันโลหิตนั้นเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้
1. อายุ ส่วนมากความดันโลหิตจะสูงขึ้นตามอายุ เด็กโตจะมีความดันโลหิตสูงกว่าเด็กเล็ก ในวัยผู้ใหญ่
ความดันมักจะสูงกว่าวัยหนุ่มสาว ตัวอย่าง เช่น ขณะอายุ 20 ปี ความดันโลหิตเท่ากับ 120/70 มม. ของปรอท แต่พออายุ 50
ปี ความดันโลหิตอาจเพิ่มขึ้นเป็น 140/80 มม.ของปรอท และเมื่ออายุ 60 ปี ความดันอาจเพิ่มขึ้นเป็น 160/80 มม.ของปรอท
แต่ในคนสูงอายุ เช่นอายุ 70 ปี ความดันสูงเพียง 120/70 มม.ของปรอทก็อาจพบได้ ไม่ได้เป็นกฏตายตัวว่าความดันจะต้อง
เพิ่มขึ้นตามอายุเสมอไป ในปัจจุบันถือว่าไม่ว่าจะอายุเท่าใดก็ตามถ้าความดันซีสโตลิคเท่ากับหรือมากกว่า 140 มม.ของปรอท
และความดันไดแอสโตลิคเท่ากับหรือมากกว่า 90 มม.ของปรอท เริ่มเป็นความดันโลหิตสูง ถ้าค่าซีสโตลิคสูงเพียงอย่างเดียวจะ
พบได้บ่อยในคนสูงอายุ ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น เดียวกับค่าไดแอสโตลิค
2. เวลา ความดันโลหิตจะไม่เท่ากันตลอดทั้งวัน มีการขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลาในระยะ 24 ชม. ของวัน เวลา
นอนหลับความดันซีสโตลิคมักจะลดลงตํ่าสุดจนเหลือเพียง 60-70 มม.ของปรอท แต่พอตื่นขึ้นความดันนี้จะสูงขึ้นเป็น 130 มม.
ของปรอท เป็นต้น จนกระทั่งมีผู้กล่าวว่าความดันโลหิตขึ้นพร้อมกับพระอาทิตย์
3. ภูมิศาสตร์ ผู้ที่อยู่ในแหล่งที่มีความเจริญ ความดันโลหิตมักจะขึ้นสูงไปตามอายุดังกล่าวมาแล้ว แต่
ผู้ที่อยู่ในอาณาบริเวณที่ห่างไกลจากความเจริญ เช่นชาวป่าในหมู่เกาะนิวกินีซึ่งยังคงนุ่งห่มใบไม้ และอยู่ในกระท่อมดินนั้น
จากการสำ รวจพบว่าไม่ค่อยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตไม่ขึ้นตามอายุด้วย
4. จิตใจและอารมณ์ ทำ ให้ความดันโลหิตเปลี่ยนได้เร็วและอาจจะเปลี่ยนไปได้
นานตัวอย่างเช่น บุคคลผู้หนึ่งได้โต้เถียงอย่างเผ็ดร้อนในการประชุม เมื่อเวลา 14.00 น. ความดันโลหิตขึ้นไปสูงกว่าเดิม 30
มม.ของปรอท และคงอยู่เช่นนั้นจน 20.00 น. ซึ่งบุคคลผู้นั้นได้กลับไปบ้านและนั่งพักผ่อนเงียบๆ ตั้งแต่ 18.00 น. แล้ว ความ
เจ็บปวดก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำ ให้ความดันโลหิตขึ้นสูงได้มากและขึ้นโดยเร็วด้วย
5. เพศ โดยสาเหตุที่ยังอธิบายไม่ได้ เราพบว่าเพศชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้บ่อยกว่าเพศหญิง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หญิงในวัยที่ยังมีประจำ เดือนอยู่
6. กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม มีส่วนช่วยทำ ให้เป็นความดันโลหิตสูงได้ กล่าวคือผู้ที่มีบิดาหรือมารดาเป็น
โรคความดันโลหิตสูงจะมีแนวโน้มที่จะเป็นมากกว่าบุคคลที่ไม่มีประวัติโรคนี้ทางครอบครัว สิ่งแวดล้อมที่เคร่งเครียดก็ทำ ให้มี
แนวโน้มของการเป็นโรคนี้สูงมากขึ้นเช่นกัน
7. เชื้อชาติ เป็นที่ทราบกันดีมานานแล้วว่าอุบัติการของความดันโลหิตสูงในพวก
นิโกรอเมริกันนั้นสูงและรุนแรงกว่าอเมริกันผิวขาวด้วย
8. ปริมาณเกลือที่รับประทาน มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคนี้ด้วย กล่าวคือผู้ที่รับประทานเกลือมาก ซึ่ง
ได้แก่พวกจีน ญี่ปุ่นและเกาหลี อุบัติการของโรคนี้จะสูงมากกว่าพวกทางซีกโลกตะวันตกซึ่งรับประทานเกลือน้อยกว่า ประชา
ชนญี่ปุ่นทางตอนเหนือนั้นรับประทานเกลือปริมาณสูงมาก ถึงวันละ 27 กรัม มีโรคความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 39 ส่วนญี่ปุ่น
ทางตอนใต้นั้นรับประทานเกลือ วันละ 17 กรัม เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพียงร้อยละ 21
การศึกษาในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษก็ได้ผลเช่นเดียวกัน กล่าวคือในกลุ่มผู้ที่รับประทานเกลือมากจะมีอุบัติการของ
ความดันโลหิตสูงมาก ส่วนกลุ่มผู้รับประทานเกลือน้อยมีอุบัติการของโรคตํ่ามาก
อาการ
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจไม่มีอาการใดๆ ทั้งสิ้น รู้สึกสบายดีแต่ไปหาแพทย์เพราะโรคอื่นหรือตรวจเช็คสุขภาพ
และแพทย์พบจากการตรวจร่างกายว่ามีความดันโลหิตสูงในกรณีที่มีอาการ ที่พบบ่อยได้แก่ ปวดหัว เวียนหัว มึนงง และ
เหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจมีอาการแน่นหน้าอกหรือนอนไม่หลับ การวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงขึ้นอยู่กับการวัดความ
ดัน ซึ่งอาจต้องทำ สองสามครั้งเพื่อให้มั่นใจว่ามีความดันโลหิตสูงจริงๆ ควรให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยและลงความเห็นว่าท่านมี
โรคความดันโลหิตสูงหรือไม่
ความดันโลหิตสูงอาจมีภาวะแทรกซ้อนอย่างไรบ้างถ้าไม่รักษา
5 อันดับ คณะที่จบแล้ว หางานง่าย
14 ปีที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น